English program ติวเตอร์ สอนตัวต่อตัว

9 คำถามยอดฮิต ของคนอยากเรียน English Program

ในปัจจุบันหลาย ๆ โรงเรียน จะมีหลักสูตรพิเศษ เช่น English Program (EP), Mini-English Program (MEP) หรือหลักสูตรเฉพาะของโรงเรียนที่มีชื่อเรียกแตกต่างกัน โดยจะมีการเรียนการสอนจากห้องเรียนปกติ และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะนอกจากจะได้วิชาการแล้ว ยังได้ภาษาอังกฤษด้วย ดังนั้นทาง Chula Gradeup Tutor จะมาไขข้อสงสัยที่มีการถามกันเข้ามาเกี่ยวกับการเรียน English Program (EP) มาให้น้อง ๆ ได้ศึกษากัน มีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันได้เลย…

9 คำถามยอดฮิต สำหรับคนอยากเรียน EP มีดังนี้

1. EP คืออะไร

English Program ติวเตอร์จุฬา ตัวต่อตัว

EP หรือ English Program เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ โรงเรียน โดยมักมุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน โดยเรียนภาษาอังกฤษที่เข้มข้นกว่าภาคปกติ และเรียนบางวิชาเป็นภาษาอังกฤษด้วย

2.ถ้าพื้นฐานภาษาอังกฤษไม่ดี จะเรียน EP ได้มั้ย

การที่เราจะเรียนได้หรือไม่ได้ก็ขึ้นอยู่กับความขยันของเราเลย เพราะภาษาเป็นสิ่งที่เราสามารถฝึกได้เองทุกวัน ถ้าเริ่มเรียนหลักสูตร EP ตั้งเเต่ ม.ต้นก็จะไม่มีปัญหาอะไรมาก เนื่องจากเนื้อหายังไม่ยากมาก เเต่ก็ไม่ใช่ว่าถ้าเริ่มเรียนตอน ม.ปลาย โดยที่ไม่มีพื้นฐานเลยก็เรียนไม่ได้ เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับการฝึกฝนเเละความขยันของน้อง ๆ เลย

3.ถ้าเรียนภาคไทยมาแล้วอยากเข้า EP ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

English Program จุฬาติวเตอร์ สอนพิเศษ

สำคัญที่สุดเลยคือการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษ เพราะวิชาหลักในหลักสูตร EP เรียนกันเป็นภาษาอังกฤษ เราจึงต้องฝึกฝนทักษะทั้ง 4 อย่างให้คล่องในระดับหนึ่ง เพื่อเวลาที่เราเข้ามาเรียนจริง ๆ จะได้ตามเพื่อน ๆ ทัน เรียนได้เข้าใจ แล้วก็จะมีความสุขกับการเรียน

4. ต่างจากโรงเรียนอินเตอร์ (Inter) อย่างไร

หลัก ๆ เลยก็คงเป็นเรื่องของหลักสูตร โปรแกรม EP ก็จะเรียนหลักสูตรไทย เเต่เรียนเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนโรงเรียนอินเตอร์ก็จะเรียนหลักสูตรนานาชาติเลย ความเเตกต่างอีกอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเลย คือ สังคม บรรยากาศ และสภาพเเวดล้อม ถ้าเป็นเด็กที่อยู่โรงเรียนนานาชาติ ส่วนมากแล้วจะคุยกันโดยใช้ภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นตอนเรียน หรือ ตอนพักเบรก และโรงเรียนอินเตอร์จะมีวัฒนธรรมตามแบบตะวันตก เช่น กฏระเบียบ และความคิดต่าง ๆ ในขณะที่โปรแกรม EP ยังอยู่ในสังคม และวัฒนธรรมไทยที่จะต้องมีการเข้าแถวหน้าเสาธง มีหลักสูตรลูกเสือเนตรนารี สรุปก็คือ หลักสูตร EP มีการผสมผสานระหว่างการเรียนเป็นภาษาอังกฤษ เเละการได้อยู่ในสภาพแวดล้อมของวัฒนธรรมไทย

5.ได้เรียนกับอาจารย์คนไทย หรือต่างชาติ

English program ติวเตอร์ สอนตัวต่อตัว

สำหรับคุณครูผู้สอน อย่างที่ได้บอกไว้ วิชาไหนที่เราเรียนเป็นภาษาอังกฤษ เราก็จะได้เรียนกับอาจารย์ชาวต่างประเทศ แต่ถ้าวิชาไหนเรียนเป็นภาษาไทย ก็จะเรียนกับคุณครูคนไทย แต่ก็แล้วแต่โรงเรียนนะ บางครั้งอาจจะได้เจอแต่ครูต่างชาติอย่างเดียวก็ได้

6.เรียน EP ต้องทำกิจกรรมในโรงเรียนเหมือนหลักสูตรปกติมั้ย

การเรียน EP แตกต่างกันที่ภาษาเท่านั้น เรื่องของกิจกรรมเราก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกทำได้เหมือนในภาคไทยทั้งหมดเลย ส่วนกิจกรรมที่บังคับทำกันทั้งรุ่นก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ค่าย งานรับน้อง หรืองานโรงเรียนต่าง ๆ เป็นต้น เพราะถือว่ายังไงก็เป็นรุ่นเป็นโรงเรียนเดียวกันอยู่ดี

7. เรียนวิชาไหนเป็นภาษาอังกฤษบ้าง

English Program ติวเตอร์จุฬา สอนพิเศษ

แต่ละโรงเรียนที่มีหลักสูตร EP ก็มีการกำหนดวิชาที่จะเรียนเป็นภาษาอังกฤษแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนมากแล้วจะเรียนวิชาหลักเป็นภาษาอังกฤษ ได้แก่ English (ภาษาอังกฤษ), Mathematics (คณิตศาสตร์), Science (วิทยาศาสตร์), Social Studies (สังคมศึกษา), History (ประวัติศาสตร์) และ Health (สุขศึกษา)

8.ในหนึ่งวันเรียนกี่ชั่วโมง (ม.ต้น / ม.ปลาย)

จำนวนชั่วโมงไม่ได้มีความแตกต่างจากภาคไทยเลย โดยปกติแล้วจะเรียนกัน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ทั้ง ม.ต้น และม.ปลาย โดยมีคาบที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษเฉลี่ยวันละ 4 คาบ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของวิชาที่เรียนทั้งหมด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตารางการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนที่อาจะมีความแตกต่างกัน

9. การสอบเข้ามหาวิทยาลัยของเด็ก EP

เด็ก EP มีหลากหลายแนวทางในการเลือกศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย เพราะมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ทำให้การสอบแข่งขันกับเด็กภาคไทยก็ไม่ได้เป็นปัญหา เนื่องจากเราเรียนเก็บเนื้อหามาแบบเดียวกัน โดยมี 3 แนวทาง คือ

  • ในระดับมหาวิทยาลัยถ้าอยากจะเรียนภาคปกติ ก็ไปสอบได้
  • ถ้าอยากไปสอบหลักสูตรอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยก็เป็นอีกแนวทางของเด็ก EP  ซึ่งสำหรับโปรแกรมอินเตอร์ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยว่าเราจะต้องยื่นคะแนนอะไรบ้าง ต้องทำ portfolio หรือต้องมีเกรดเฉลี่ยเท่าไหร่ ตัวอย่างคะแนนสอบที่จะต้องใช้ในการยื่นเข้ามหาลัย เช่น SAT, SAT II, IELTS, TOEFL, BMAT, CU-TEP และ TU-GET เป็นต้น
  • ทางเลือกสุดท้ายคือการเรียนต่อต่างประเทศ ซึ่งโดยส่วนมากคะแนนจะคล้ายกับหลักสูตรอินเตอร์ในประเทศไทย

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการแข่งขันของแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยด้วย เพราะแต่ละที่ก็มีความยากง่ายไม่เท่ากัน ด้วยความได้เปรียบทางภาษาของเด็ก EP ทำให้เรามีหลายทางเลือก เพราะฉะนั้นเพื่อนๆ ก็ลองหาคณะที่สนใจเพื่อที่จะได้เรียนกันอย่างมีความสุข

ทั้งหมดเป็นคำถามเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการเรียน EP หากน้อง ๆ มีข้อสงสัย หรือ คำถามเพิ่มเติม สามารถ Comment ได้ที่ด้านล่าง แต่หากต้องการอ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิกที่นี่

FB Fanpage : @Chula Gradeup Tutor

Line ID : https://line.me/R/ti/p/%40wud8208i ( ติวเตอร์จุฬา )

Scroll to top