เครื่องปรับอากาศ ติวเตอร์ สอนพิเศษ

ขั้นตอนตรวจสอบ แอร์ ด้วยตัวเอง

อย่างที่หลาย ๆ คน มักจะมีการพูดเล่นกันว่าที่ประเทศไทยนั้นมีอยู่ 3 ฤดู ซึ่งหลาย ๆ คน คนนึกออกนะว่า ฤดูอะไรบ้าง คือ ฤดูร้อน ฤดูร้อนมาก และฤดูร้อนที่สุด นั่นก็หมายความว่าไม่ว่าจะวันไหน เมื่อไหร่เมืองไทยก็ยังคงร้อนได้อย่างต่อเนื่อง และนับวันจะยิ่งทวีความร้อนรุนแรงมากยิ่งขึ้น จะมีบ้านจำนวนน้อยมากที่ไม่ติด “เครื่องปรับอากาศ” หรือ นิยมเรียกกันว่า “แอร์”  แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าช่างที่มาติดตั้ง เครื่องปรับอากาศ ที่บ้านทำงานได้อย่างเรียบร้อย และติดเครื่องปรับอากาศถูกวิธี ดังนั้นทาง Chula Gradeup Tutor ขอแนะนำวิธีการตรวจสอบแอร์ด้วยตัวเองกันดีกว่า มีวิธีการอย่างไรบ้างนั้น ตามมาดูกันได้เลย…

เครื่องปรับอากาศ ติวเตอร์ สอนพิเศษ

วิธีตรวจเช็คอาการผิดปกติของ “แอร์” เพื่อแก้ไขเบื้องต้น ดังนี้

1. แอร์ไม่เย็น ( คอมเพรสเซอร์ทำงาน )

สาเหตุ

  • น้ำยาแอร์ขาด
  • แอร์สกปรก
  • คอมเพรสเซอร์ไม่มีกำลังอัด
  • มีอาการตันของระบบน้ำยา
  • การกระจายลมเย็นไม่เพียงพอ

วิธีแก้ไข

  • เติมน้ำยาเข้าระบบแรงดัน 70-80 ปอนดต่อตารางนิ้ว
  • ทำการล้างแอร์ทั้งคอย์ร้อนและคอยล์เย็นโดยปั๊มน้ำแรงดันสูง
  • ทำการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์
  • ทำการเปลี่ยนแคปทิ้ว(ตัวฉีดน้ำยา) , ไดเออร์(ตัวกรองความชื้น) และ แวคคั่มระบบเติมน้ำยาใหม่
  • ปรับปรุงการจ่ายลมเย็น

2. แอร์ไม่เย็น ( คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน )

สาเหตุ

  • สวิทซ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) ไม่ทำงาน
  • สายไฟขาดหรือหลวม
  • แคปสตาร์ท (Starting Capacitor) ชำรุด
  • แคปรัน (Running Capacitor) ชำรุด
  • รีเลย์ (ถ้ามี) ผิดปกติ
  • โอเวอร์โหลดตัดการทำงานหรือชำรุด
  • แรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก

วิธีแก้ไข

  • ถ้าปรับสวิทซ์ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในตำแหน่งที่เย็นกว่าอุณหภูมิห้อง แต่เครื่องยังไม่ทำงานให้เปลี่ยนเทอร์โมสตัทใหม่
  • ตรวจสอบสายไฟและขั้วต่อสายไฟต่างๆ เช่น ที่สวิทซ์และที่ขั้วสายไฟของคอมเพรสเซอร์
  • ตรวจเช็คแคปสตาร์ทถ้าชำรุดให้เปลี่ยนใหม่
  • ตรวจเช็คแคปรัน ถ้าชำรุดให้เปลี่ยนใหม่
  • ตรวจซ่อมแก้ไข หรือเปลี่ยนรีเลย์ใหม่
  • ตรวจดูว่าความร้อนที่คอมเพรสเซอร์สูงเกินไป หรือโอเวอร์โหลดผิดปกติหรือไม่
  • ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าและทำการแก้ไข

3. คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน (คอมเพรสเซอร์ไม่มีเสียง)

สาเหตุ

  • สวิทซ์ของเครื่องปรับอากาศยังไม่ได้เปิดหรือเปิดไม่ครบถ้วน (บางตัวอยู่ในตำแหน่ง OFF)
  • ไม่มีฟิวส์ หรือฟิวส์ขาด
  • โอเวอร์โหลดตัดวงจร (Trips)
  • ระบบควบคุมการทำงานของเครื่อง เช่น รีโมทคอนโทรลมีปัญหาขัดข้อง
  • ปรับตั้งเทอร์โมสตัทที่อุณหภูมิสูงเกินไป ทำให้เทอร์โมสตัทตัด
  • ติดตั้งเทอร์โมสตัทหรือชุดควบคุมอุณหภูมิในตำแหน่งที่โดนลมเย็นจากเครื่องเป่าลมเย็นโดยตรง
  • วงจรไฟฟ้าไม่ถูกต้องหรือเกิดการลัดวงจร

วิธีแก้ไข

  • ปิดสวิทซ์ที่จ่ายไฟให้เครื่องปรับอากาศให้ครบทุกตัว (สับสวิทซ์ให้อยู่ในตำแหน่ง ON)
  • ใส่หรือเปลี่ยนฟิวส์
  • ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าเพื่อหาสาเหตุของการตัดวงจรแล้วแก้ไขให้เรียบร้อย
  • เปลี่ยนหรือซ่อมแก้ไขระบบควบคุมการทำงานของเครื่อง
  • ปรับตั้งเทอร์โมสตัทให้อุณหภูมิทำความเย็นต่ำลง
  • เปลี่ยนตำแหน่งติดตั้งเทอร์โมสตัทหรือชุดควบคุมอุณหภูมิใหม่ให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่โดนลมเย็น
  • ตรวจเช็คและต่อวงจรไฟฟ้าใหม่

4. คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน และ โอเวอร์โหลดตัดวงจร

สาเหตุ

  • ต่อวงจรไฟฟ้าไม่ถูกต้อง
  • ไฟที่จ่ายไปยังเครื่องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำ (หรือมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก)
  • มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไหม้

วิธีแก้ไข

  • ตรวจเช็ควงจรไฟฟ้าใหม่และแก้ไขให้ถูกต้อง
  • ค้นหาสาเหตุและหาแนวทางป้องกันแก้ไขให้ถูกต้อง
  • เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์

5. โอเวอร์โหลดตัดวงจร และ คอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน หลังจากที่เริ่มสตาร์ทใหม่ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ

สาเหตุ

  • มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านโอเวอร์โหลดมากเกินไป
  • มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก
  • โอเวอร์โหลดขัดข้อง
  • แคปรัน (Run Capacitor) เสียหาย ขัดข้อง
  • คอมเพรสเซอร์ร้อนจัด
  • คอมเพรสเซอร์ไหม้

วิธีแก้ไข

  • ตรวจเช็ควงจรไฟฟ้า มอเตอร์พัดลม การต่อสายไฟและขนาดของโอเวอร์โหลดให้ถูกต้อง
  • ค้นหาสาเหตุและทำการแก้ไข
  • ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้าและเปลี่ยนโอเวอร์โหลด
  • ค้นหาสาเหตุและเปลี่ยนแคปรันใหม่
  • ตรวจวัดสารทำความเย็น (มีการรั่วหรือไม่) ถ้าจำเป็นให้เพิ่มเติมแล้วตรวจสอบซุปเปอร์ฮีท
  • เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์

6. คอมเพรสเซอร์สตาร์ทไม่ติด (ถ้าปล่อยไว้นานคอมเพรสเซอร์จะไหม้)

สาเหตุ

  • ต่อวงจรไฟฟ้าไม่ถูกต้อง
  • ไฟที่จ่ายไปยังเครื่องมีแรงเคลื่อนต่ำ (หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก)
  • แคปรัน (Run Capacitor) เสียหายขัดข้อง
  • มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไหม้
  • กลไกภายในคอมเพรสเซอร์ขัดข้อง

วิธีแก้ไข

  • ตรวจเช็คและต่อวงจรไฟฟ้าใหม่
  • ค้นหาสาเหตุและแนวทางป้องกันแก้ไขให้ถูกต้อง
  • ค้นหาสาเหตุและแก้ไขแล้วเปลี่ยนแคปรันใหม่
  • เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์

7. แอร์ไม่ทำงาน

สาเหตุ

  • ฟิวส์ขาดหรือไม่มีฟิวส์
  • สายไฟขาดหรือหลวม
  • แรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำ หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก
  • สวิทซ์ควบคุม ขัดข้องหรือชำรุด

วิธีแก้ไข

  • เปลี่ยนหรือใส่ฟิวส์ใหม่
  • ตรวจหาตำแหน่งที่ไฟฟ้าเกิดลัดวงจร
  • ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่สายไฟก่อนเข้าตัวสวิทซ์ ถ้าวัดแล้วมีแรงเคลื่อนถูกต้องแต่แรงเคลื่อนที่ผ่านออกจากตัวสวิทซ์มีค่าน้อยกว่า หรือไม่ถูกต้องให้เปลี่ยนสวิทซ์ใหม่

8. พัดลมทำงานมีเสียงดัง (คอยล์ร้อนเสียงดัง)

สาเหตุ

  • พัดลมมีสิ่งแปลกปลอมหรือกระทบกับสิ่งอื่น
  • พัดลมหรือมอเตอร์พัดลดหลวมหรือชำรุด
  • ใบพัดบิดเบี้ยวไม่สมดุลย์
  • แมกเนติกเสื่อม

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบตำแหน่ง และช่องว่างของพัดลมและหาสิ่งแปลกปลอม
  • ตรวจและขันพัดลมให้แน่นกับเพลา
  • ตรวจสอบการบิดเบี้ยวของใบพัด ถ้าชำรุดให้เปลี่ยนใหม่
  • ทำการเปลี่ยนแมกเนติก

9. น้ำหยดที่คอยล์เย็น

สาเหตุ

  • แอร์สกปรก
  • ข้อต่อท่อน้ำทิ้งหลุด
  • ท่อน้ำทิ้งตัน
  • ติดตั้งเครื่องเป่าลมเย็นไม่ได้ระดับ
  • ถาดน้ำทิ้งมีรอยรั่ว หรือมีน้ำรั่วจากแหล่งอื่นที่ไม่ได้มาจากเครื่องปรับอากาศ

วิธีแก้ไข

  • ทำการล้างแอร์ด้วยปั๊มแรงดันสูง
  • ทำการตรวจเช็คหาจุดที่หลุด
  • ทำการฉีดไล่ด้วยปั๊มแรงดันสูง หรือ ทำการตัดคอยล์เย็นลงมาทำการถอดชิ้นส่วนและฉีดล้าง ติดตั้งเครื่องให้ได้ระดับและทำให้
  • ถาดน้ำลาดลงไปตามทิศทางการไหล
  • ใช้วัสดุอุดรอยรั่ว

10. บานสวิงที่คอยล์เย็นไม่ทำงาน

สาเหตุ

  • มอเตอร์สวิงเสีย
  • ขาบานสวิงหัก
  • แผงควบคุมเสีย

วิธีแก้ไข

  • ทำการเปลี่ยนมอเตอร์สวิง
  • ทำการเปลี่ยนขาบานสวิง
  • ทำการเปลี่ยนหรือส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิต

11. ตัวเครื่องสั่น และ มีเสียงลมดังผิดปกติ

สาเหตุ

  • ท่อน้ำยาด้านดูดและด้านส่งสัมผัสกัน
  • น๊อต หรือสกรู ยึดคอมเพรสเซอร์ ฝาครอบเครื่องหรือแคปหลวม
  • ใบพัดลมบิดงอ หรือหลวม
  • พัดลมมอเตอร์ เคลื่อนออกจากตำแหน่งที่ตั้ง เนื่องจากจุดที่จับยึดหลวม

วิธีแก้ไข

  • ดัดท่อให้เกิดช่องว่างระหว่างท่อทางด้านดูด และท่อทางด้านส่ง
  • ขันน๊อต หรือสกรูให้แน่น
  • เปลี่ยนพัดลม
  • ตรวจตำแหน่งให้ถูกต้อง และขันน๊อตที่ล็อคให้แน่น

12. แคปรัน (Run Capacitor) ขาด ลัดวงจร

สาเหตุ

  • ใช้ขนาดความจุไม่ถูกต้อง
  • แรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงผิดปกติ (มากกว่า 110% ของแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงสุด)

วิธีแก้ไข

  • เปลี่ยนแคปรันให้มีขนาดความจุที่ถูกต้อง
  • หาสาเหตุและแก้ไขให้ถูกต้อง

13. แอร์มีกลิ่นอับชื้น

สาเหตุ

  • ในห้องมีความชื้นสูง
  • แอร์สกปรก
  • เดินท่อน้ำทิ้งไปตรงกับท่อระบายน้ำ

วิธีแก้ไข

  • ตั้งโหมดลดความชื้นที่รีโมต
  • ทำการล้างแอร์ด้วยปั๊มแรงดันสูง
  • ทำการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่

14. ท่อน้ำยาด้านดูดมีน้ำ หรือ เกล็ดน้ำแข็งเกาะ

สาเหตุ

  • พัดลมของแฟนคอยล์ยูนิตไม่ทำงาน
  • มีสารทำความเย็นระบบมากเกินไป

วิธีแก้ไข

  • หาสาเหตุและซ่อมแก้ไข
  • ปล่อยสารทำความเย็นออกจากระบบแล้วตรวจสอบซุปเปอร์ฮีท

15. ท่อน้ำยาด้านส่งมีน้ำ หรือ น้ำแข็งเกาะ (เฉพาะเครื่องรุ่นที่ฉีดน้ำยาที่แฟนคอยล์ ยูนิต)

สาเหตุ

  • อุปกรณ์กำจัดความชื้นและไส้กรองตัน
  • เซอร์วิสวาล์วด้านส่งเปิดไม่สุด

วิธีแก้ไข

  • เปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่
  • เปิดวาล์วให้สุด

16. ความดันท่อน้ำยาทางด้านดูด และ ทางด้านส่งต่ำกว่าปกติ

สาเหตุ

  • สารทำความเย็นในระบบมีน้อย
  • วาล์วคอมเพรสเซอร์รั่ว หรือ ชำรุด

วิธีแก้ไข

  • ตรวจรอยรั่วของระบบ ทำการแก้ไข และ เติมสารทำความเย็นเข้าไปใหม่ให้ได้ปริมาณที่ถูกต้องแล้วทำการตรวจสอบซุปเปอร์ฮีท
  • เปลี่ยนวาล์วคอมเพรสเซอร์

17. รีโมตไม่ทำงาน

สาเหตุ

  • ถ่านหมด
  • ตัวรับสัญญาณเสีย
  • รีโมตเสีย
  • กะเปาะวัดอุณหภูมืเสีย

วิธีแก้ไข

  • ทำการเปลี่ยนถ่าน
  • ทำการเปลี่ยนหรือส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิต
  • ทำการเปลี่ยนรีโมต
  • ทำการเปลี่ยนกะเปาะวัดอุณหภูมื

หากใครมีเทคนิคดี ๆ เพิ่มเติมสามารถ Comment เพื่อแบ่งปันกันได้ แต่หากต้องการอ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิกที่นี่

FB Fan Page : @Chula Gradeup Tutor

Line ID : https://line.me/R/ti/p/%40wud8208i

ที่มา : www.lg.com/th

Scroll to top