ฟิสิกส์ ติวเตอร์ ตัวต่อตัว

4 เทคนิค ในการเรียน ฟิสิกส์ ให้ดีขึ้น

สำหรับน้อง ๆ ที่เรียนสาย วิทย์ – คณิต นั้น ก็ต้องได้เรียนวิชา ฟิสิกส์ เคมี และ ชีวะ แต่วิชาของทางสายวิทย์ที่น้อง ๆ มักจะมีปัญหามากที่สุดนั่นก็คือ “ฟิสิกส์” ซึ่งเป็นแขนงของวิชาวิทยาศาสตร์ที่น้อง ๆ มักจะพูดถึงความยากของวิชานี้กันมาก เพราะน้อง ๆ อาจจะไม่รู้วิธีการเรียนที่ถูกต้อง จึงทำให้ไม่เข้าใจฟิสิกส์ และ รู้สึกว่าฟิสิกส์นั้นยาก ดังนั้นทาง Chula Gradeup Tutor ขอแนะนำเทคนิคที่จะช่วยแก้ปัญหาการเรียนฟิสิกส์ให้น้อง ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนฟิสิกส์ให้ดีขึ้น มีเทคนิคใดบ้างนั้น ตามมาดูกันได้เลย …

5 เหตุผลที่ทำให้เรียน Physics ไม่รู้เรื่อง มีดังนี้

1. น้อง ๆ อาจจะไม่ชอบวิชานี้กันอยู่ใช่มั้ยล่ะ

สิ่งนี้อาจเป็นสาเหตุแรก ๆ เลยก็ว่าได้ ไม่ต้องมองไปไกล เพราะอยู่ที่ตัวน้อง ๆ เองเลย พอเราไม่ชอบอะไรมักจะทำสิ่งนั้นออกมาได้ไม่ดีเสมอนะ

2. เรียนยังไงก็ไม่เข้าใจ

ถึงเราจะชอบวิชานี้ก็ตามเถอะ แต่ยิ่งเรียนก็ยิ่งมึนตึบเข้าไปกันใหญ่เลย เพราะไม่รู้ว่าจะสูตรอะไรดีในการทำโจทย์ ในแต่ละข้อ น้อง ๆ อาจจะคิดว่า สูตรมันเยอะเกินไปไหมเนี่ย

3. เมื่อเรียนไม่เข้าใจแล้ว ก็ปล่อยมันไป

ไม่ยอมกลับมาทบทวน หรือ ฝึกฝนเพิ่มเติมเลย น้อง ๆ ก็มักจะปล่อย จนเมื่อสะสมไปเรื่อย ๆ จนไม่อยากเรียนแล้ววิชานี้

4. เวลาสอบ เรียนก็ไม่เข้าใจแล้ว ยิ่งเวลาสอบยิ่งทำไม่ได้กันไปใหญ่เลย

ดังนั้น น้อง ๆ ก็มักจะเลือกข้อกามั่วกันไปใช่มะ (มันก็ต้องมีข้อตอบถูกมักแหละ) ขอแค่ผ่านพอ ไม่อาคะแนนสูงหรอก แต่ถ้ามันเป็นข้อเขียนล่ะ จะทำยังไง ดีล่ะคราวนี้ เพราะพี่ ๆ ก็เคยเจอมาแล้วที่โรงเรียนของพี่ คือตอนแรก ๆ อาจารย์ก็ทำเป็นข้อสอบกาช่วยอยู่หรอก แล้วมีวิธีทำให้แสดงอยู่แค่ 3-4 ข้อ เอาเลยจ้า พี่ก็มั่วเลย เพราะยังไงมันก็ต้องตอบถูกมั้งแหละ แต่พอหลังจากนั้นเหมือนอาจารย์จะรู้ว่านักเรียนทำข้อสอบกันไม่ค่อยได้ เปลี่ยนเลยจากข้อกาเยอะ ๆ กลับลดน้อยลง ให้ทำข้อเขียนมากขึ้น อาจารย์เขาทำแบบนี้ก็เพราะต้องการให้เราตั้งใจเรียนมากขึ้น อย่าไปว่าอาจรย์เขานะ

5. ในเมื่อสอบออกมาเกรดไม่ดีแล้ว ก็ปล่อยมันผ่านไป

เพราะยังไงเราก็สอบไม่ได้แล้ว ออกอาการไม่ปลื้ม และคิดว่าวิชามันช่างไม่เหมาะกับเราเลย มันยากเหลือเกิน

Physic ติวเตอร์จุฬา

4 เทคนิค ในการเรียน ฟิสิกส์ ให้ดีขึ้น

1. เข้าใจที่มาที่ไปของสูตร

น้อง ๆ มักจะพูดถึงเรื่องของสูตรในวิชาฟิสิกส์ว่า สูตรเยอะมาก จำไม่ไหวแล้วทำไงดีล่ะ เทคนิคที่จะทำให้เราสามารถจำสูตรต่าง ๆ ได้ดีนั่น ความสำคัญคือ น้อง ๆ ควรเข้าใจที่มาที่ไปของสูตร และทำความเข้าใจ concept ของเนื้อหา เงื่อนไข และ ข้อควรระวังของเนื้อหาในบทนั้น ๆ แล้ว ก็ไปทำการดูการพิสูจน์สูตรต่าง ๆ ในบทนั้น และ ทำความเข้าใจที่มาของสูตรเหล่านั้น การที่น้อง ๆ เข้าใจการพิสูจน์ที่มาของสูตรต่าง ๆ นั้น จะช่วยให้สามารถจำสูตรนั้นได้ดีขึ้น หรือ ถ้าหากว่าลืม ก็สามารถที่จะพิสูจน์ด้วยตนเองได้เลย เป็นการลดปริมาณเนื้อหาที่ต้องจำไปได้มาก เอาเวลาที่เหลือไปจำวิชาที่เนื้อหาเยอะ เช่น เคมี ชีวะ ไทย สังคม เป็นต้น ดีกว่า อีกทั้งการเข้าใจการพิสูจน์ยังทำให้น้อง ๆ สามารถจำเงื่อนไขต่าง ๆ ของการใช้สูตรนั้น ๆ ได้อีกด้วย เพราะในขั้นตอนการพิสูจน์อาจมีการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนจะได้สูตรสำเร็จออกมาก็ได้

2. เชื่อมโยงเพื่อหาความสัมพันธ์ของสูตร

หลังจากที่น้อง ๆ เข้าใจที่มาที่ไปของสูตรแล้ว ในขั้นตอนนี้น้อง ๆ ควรจะเชื่อมโยงเพื่อหาความสัมพันธ์ของสูตรต่าง ๆ ในแต่ละเนื้อหานั้นให้ได้ โดยอาจสรุปออกมาเป็นลักษณะของ mind map , Short Note ก็ได้ เพื่อให้เห็นภาพรวมของเนื้อหา และ สูตรต่าง ๆ มากขึ้น

ฟิสิกส์ ติวเตอร์ สอนพิเศษ

3. จับ concept ให้ได้

ในวิชาฟิสิกส์นั่นนอกจากสูตรอาจจะสำคัญ แต่สิ่งที่อาจจะสำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ Concept หากน้อง ๆ สามารถจับ concept ของแต่ละเนื้อหาของแต่ละเรื่องได้แล้ว ว่าเนื้อหาบทนั้นพูดถึงเรื่องอะไร มีเงื่อนไข หรือ ข้อควรระวังอะไรบ้างในเนื้อหา เช่น เรื่องการเคลื่อนที่แนวตรงที่น้อง ๆ จะได้เรียน 4 สูตรหลัก ก็ควรจะทราบเงื่อนไขว่า 4 สูตรนี้ คือ สูตรที่ใช้ในการคำนวน กรณีที่วัตถุมีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ หรือ ความเร่งคงที่ ข้อควรระวัง คือ ถ้าความเร่งไม่คงที่ก็ไม่สามารถใช้ 4 สูตรนี้ได้ หากน้อง ๆ ได้เข้าใจ Concept แล้วก็จะยิ่งช่วยทำให้น้อง ๆ สามารถนำสูตรที่เราจำได้มาใช้ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

4. ฝึกทำโจทย์อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนสุดท้าย คือ การลงมือฝึกทำโจทย์ โดยมีเทคนิคอยู่ 2 อย่างหลัก ๆ ในขั้นตอนนี้ คือ

  1. “ลงมือ” น้อง ๆ หลาย ๆ คนชอบมองโจทย์แล้วคิดเอาเองว่าน่าจะทำได้ น่าจะได้คำตอบ ประมาณคำตอบ ซึ่งพอถึงเวลาทำข้อสอบจริงก็อาจจะพบว่าแทนค่าไม่ถูก ไม่รู้ว่าต้องแทนค่าไหน ไม่รู้ว่าต้องแปลงหน่วยก่อนแทนค่าไหม หรือ ปัญหาอื่น ๆ มากมายซึ่งปัญหาเหล่านั้นจะหมดไปถ้าได้ฝึก “ลงมือ” ทำโจทย์
  2. เน้นทำโจทย์ที่หลากหลาย ในการทำโจทย์อยากให้มุ่งไปที่กระบวนการแก้ปัญหาโจทย์มากกว่าคำตอบ เพื่อที่เมื่อเจอโจทย์ที่ลักษณะคล้ายกันจะได้สามารถแก้โจทย์เหล่านั้นได้ด้วย จะได้ไม่ต้องทำโจทย์แนวซ้ำ ๆ แต่เอาเวลาที่เหลือไปดูแนวโจทย์ที่เป็นแนวทางอื่น ๆ เพิ่มเติม

ทั้ง 4 เทคนิคที่ทาง Chula Gradeup Tutor ได้รวบรวมมานี้เป็นเพียงเทคนิคเบื้องต้นเท่านั้น หากน้อง ๆ มีเทคนิคดี ๆ เพิ่มเติม สามารถแบ่งปันให้กับเพื่อน ๆ ได้ที่ Comment ด้านล่าง หรือถ้าต้องการอ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิกที่นี่

FB Fanpage : @Chula Gradeup Tutor

Line ID : https://line.me/R/ti/p/%40wud8208i

Scroll to top