9 วิชาสามัญ

ทำไมต้องสอบ 9 วิชาสามัญ

รู้หรือไม่ว่าการสอบ 9 วิชาสามัญ เริ่มมีการสอบมาตั้งแต่เมื่อไหร่…ทาง ChulaGradeupTutor ขอเฉลยเลยก็แล้วกัน คือ เริ่มใช้ในการสอบรับตรงมาตั้งแต่ปี 2559 โดยเริ่มแรก 9 วิชาสามัญ คือ 7 วิชาสามัญ ที่เกิดขึ้นมาเพราะต้องการใช้เป็นข้อสอบในการรับตรงของแต่มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการลดปัญหาการสอบตรงของน้องๆ นั่นเอง ทำให้น้องๆ ไม่ต้องเดินทางไปสอบที่มหาวิทยาลัยที่สมัครไป ซึ่งการจัดสอบ 9 วิชาสามัญจะจัดสอบรวมกันในแต่ละสถานที่ที่ทาง สทศ. จัดสอบขึ้นในแต่ละปี ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมเป็นย่างไรบ้าง ตามมาดูกันต่อได้เลย …

ทำไมต้องสอบ 9 วิชาสามัญ (เดิม 7 วิชาสามัญ) มีความสำคัญอย่างไร ?

9 วิชาสามัญ ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง?

1. วิชาภาษาไทย
2. วิชาสังคมศึกษา
3. วิชาภาษาอังกฤษ
4. วิชาคณิตศาสตร์ 1 (สายวิทย์และศิลป์คำนวณ)
5. วิชาฟิสิกส์
6. วิชาเคมี
7. วิชาชีววิทยา
8. วิชาคณิตศาสตร์ 2 ( สายศิลป์ภาษา )
9. วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ( สายศิลป์ภาษา )

วิชาสามัญ 9 วิชา

หมายเหตุ ซึ่งก่อนหน้านี้จะมีการสอบเพียงแค่ 7 วิชาเท่านั้น แต่ในภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงจาก 7 เป็น 9 คือ เพื่มเติมใน วิชาคณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์พื้นฐานของสายศิลป์

จำเป็นต้องสอบทั้ง 9 วิชาเลยเหรอ ?

ต้องขอบอกเลยว่า “ไม่จำเป็น” เพราะว่าคณะสายวิทย์ต่างๆ จะใช้แค่ 5 – 7 วิชา ส่วนสายศิลป์ก็ประมาณ 3 – 5 วิชา ส่วนเราจะต้องสอบวิชาอะไรบ้างก็ให้ตรวจสอบกับ ทางคณะ/มหาวิทยาลัยที่เราจะยื่นคะแนน ว่าเขาต้องการคะแนนวิชาไหนบ้าง ?

ตัวอย่างเช่น

1. นาย A อยากสอบตรงเข้าคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย A

นาย A จึงไปค้นข้อมูลในเว็ปของคณะ พบว่าทางคณะรับนักศึกษาใหม่ด้วยวิธีรับตรง 9 วิชาสามัญ มีวิชาที่ต้องสอบดังนี้ ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 2, วิทยาศาสตร์พื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 5 วิชา นาย A จึงไปสมัครสอบ 5 วิชานี้ และ นำคะแนนสอบที่ได้ไปยื่นที่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย A

นิเทศ

2. นางสาว B อยากสอบตรงเข้าคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย B

นางสาว B ไปค้นข้อมูลในเว็ปของคณะ พบว่าทางคณะรับนักศึกษาใหม่ด้วยวิธีรับตรง 9 วิชาสามัญ มีวิชาที่ต้องสอบดังนี้ ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีวะ รวมทั้งสิ้น 7 วิชา ขวัญจึงไปสมัครสอบ 7 วิชานี้ และ นำคะแนนสอบที่ได้ไปยื่นที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย B

ทันตแพทย์

3. นางสาว C ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการคณะอะไร อยากเรียนหลายคณะ เช่น บัญชี สถาปัตย์ วิศวะ อักษร ฯลฯ

นางสาว C จึงไปเช็คกับเว็ปทุกคณะเจอว่าตัวเองต้องสอบทั้ง 9 วิชาเลย นาย C ก็ต้องสมัครสอบทั้ง 9 วิชา

เลือกคณะ

** หมายเหตุ กรณีดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างนะ ใครสนใจคณะไหนก็ต้องไปเช็คกับทางคณะนั้นเองว่าต้องใช้วิชาอะไรบ้าง ?

ลักษณะของข้อสอบเป็นยังไง ?

เนื้อหาข้อสอบของวิชาสามัญนั้นจะเป็นเนื้อหาของระดับชั้น ม.ปลาย แต่เป็นเนื้อหาที่เข้มข้นและยากกว่า O-NET ที่เป็นข้อสอบวัดระดับมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน แต่ไม่ลึกเท่ากับ GAT/PAT ที่จะเน้นเจาะลึกด้านทักษะทางวิชาชีพประกอบกันด้วย โดยผู้ออกข้อสอบของวิชาสามัญนั้นจะเป็นอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับข้อสอบ GAT/PAT

มหาวิทยาลัยที่ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ มีทั้งหมด 27 แห่ง ดังนี้

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. มหาวิทยาลัยทักษิณ
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
9. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. มหาวิทยาลัยนครพนม
11. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
12. มหาวิทยาลัยนเรศวร
13. มหาวิทยาลัยบูรพา
14. มหาวิทยาลัยพะเยา
15. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
16. มหาวิทยาลัยมหิดล
17. มหาวิทยาลัยแม่โจ้
18. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
19. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
20. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
21. มหาวิทยาลัยศิลปากร
22. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
23. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
24. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
25. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
26. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
28. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

อีกหนึ่งการสอบที่ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญก็คือ กสพท เพราะใช้ในสัดส่วนการคัดเลือกถึง 70% กันเลยทีเดียว น้องๆ คนไหนที่ลงสอบไปก็อย่าลืมให้ความสำคัญกับการสอบ กสพท ด้วยนะ

9 วิชาสามัญกับเคลียริ่งเฮ้าส์ คืออันเดียวกันไหม?

เป็นอะไรที่มีความสับสนมากๆ มีน้องๆ สงสัยกันทุกปี แต่บอกเลยว่าไม่ใช่อันเดียวกัน

วิชาสามัญคือข้อสอบที่ใช้ในการคัดเลือกรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ

ส่วนเคลียริ่งเฮ้าส์นั้น เป็นระบบไม่ใช่ข้อสอบ เคลียริ่งเฮ้าส์ คือ ระบบยืนยันสิทธิ์รับตรงร่วมกัน เพื่อเคลียร์ปัญหาการกั๊กที่เรียน

ทางทีม ติวเตอร์จุฬา (Chula Gradeup Tutor) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะพอทำให้น้อง ๆ เข้าใจว่าทำไมต้องสอบ 9 วิชาสามัญ มากขึ้นไม่มากก็น้อย หากน้อง ๆ คนไหนยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ www.chulagradeuptutor.com คลิกได้เลย หรือต้องการอ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิกที่นี่

FB Fanpage : @ChulaGradeup 

ที่มา :  www.niets.or.th , www.admission.in.th

Scroll to top