เทคนิคการเขียน Personal Statement เพื่อขอทุน

น้อง ๆ หลาย ๆ คนมักมีปัญหาเกี่ยวกับการเขียนหนังสือแนะนำตัว (Personal Statement) เพื่อเตรียมขอทุนสำหรับศึกษาต่อ ดังนั้นทาง Chula Gradeup Tutor ขอแนะนำเทคนิคการเขียนหนังสือแนะนำตัวว่าเขียนอย่างไรให้ดูน่าสนใจ โดยรายละเอียดเป็นอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันต่อได้เลย …

การเขียนหนังสือแนะนำตัวนั้นมีความสำคัญเป็นอันดับที่ 4 รองจาก เกรดเฉลี่ย คะแนนสอบ และ เอกสารต่าง ๆ ดังนั้น การเขียนหนังสือแนะนำตัวจึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอีกหนึ่งเรื่องที่น้อง ๆ จะสามารถทำให้กรรมการประทับใจได้ โดยการเขียนเรื่องราวของน้อง ๆ เองให้ออกมาน่าสนใจ สิ่งที่น้อง ๆ สื่อออกมาบนหน้ากระดาษ จะทำให้เราเข้าสู่มหาวิทยาลัยที่เราต้องการ

เทคนิคการเขียน Personal Statement ให้ดูน่าสนใจ มีดังนี้

1. ก่อนการเขียน Personal Statementทุกครั้งอ่านคำสั่งให้ละเอียด เช่น จำนวนหน้า จำนวนคำที่กำหนด บางทีคำถาม และ รูปแบบ อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อย ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เนื่องจากถ้าน้อง ๆ ทำผิดกฎข้อนี้ ทางกรรมการคงตัดคะแนนเราแน่ ๆ ต่อให้เขียนดีแค่ไหนก็ตาม

2. หลังจากได้อ่านกฎ และ คำสั่งเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อมา คือ เก็บข้อมูลความต้องการของ Personal Statementของแต่ละมหาวิทยาลัย มองหารูปแบบข้อกำหนดการเขียนเรียงความที่คล้ายกัน เพื่อให้คุณสามารถนำหนังสือแนะนำตัวมาปรับใช้กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้ เพื่อไม่ต้องเริ่มดำเนินการเขียนใหม่ทุกครั้ง

3. วางแผนกลยุทธ์การเขียน Personal Statement การเขียนหนังสือแนะนำตัวที่ดีควรช่วยแนะนำ และ สามารถสื่อสารคุณสมบัติ และ เรื่องราวของตัวเราออกมาได้อย่างมีชีวิตชีวา และ โดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ

4. วางแผนที่จะอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นเราในแง่บวก เราสามารถเริ่มต้นด้วยหัวข้อที่ใกล้เคียงกัน เช่น เรื่องราวที่น่าสนใจในชีวิต หรือ ครอบครัว อุปสรรคที่คุณพบเจอ และ วิธีรับมือให้ผ่านไปได้โดยดี อย่างไรก็ตาม เรายังสามารถเขียนเกี่ยวกับวิธีที่ทำให้คุณเติบโต และ พัฒนาตนเอง รวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเป็นผู้นำ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสำเร็จ และ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เรามีส่วนร่วม กรรมการไม่สามารถอ่านใจของเราได้ เราจึงควรเล่าประสบการณ์ที่น่าสนใจของเรา เพื่อแสดงให้เห็นถึงการที่เราจะนำคุณสมบัติเฉพาะตัวของคุณไปปรับใช้ให้เข้ากับมหาวิทยาลัย

Personal Statement แนะนำตัว

5. เขียนจากมุมมองการเล่าเรื่องของบุรุษที่ 1 เสมอ จำไว้เสมอว่า Personal Statement คือ การเขียนอัตชีวประวัติ หากเราเลือกที่จะเขียนเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ หรือ เรื่องราวต่าง ๆ เราจะต้องแสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้น ๆ หรือคนนั้น ๆ มีความสัมพันธ์กับเราอย่างไร การเขียนนั้นจะต้องบอกความสัมพันธ์ และ เชื่อมโยงกับหลักสูตรที่เราสมัคร เราควรจะบอกว่า เราจะสามารถนำคุณสมบัติเฉพาะตัวของเรามาใช้ เพื่อมหาวิทยาลัยได้อย่างไร

6. ใช้การเขียนที่ประธานเป็นผู้กระทำโดยตรง (Active Writing) และ รู้จักเลือกใช้คำศัพท์ที่มีความหมาย

7. มีความเชื่อมั่น และ อย่าลืมตรวจสอบแกรมม่า การสะกดคำ และ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน

8. โน้มน้าว และ นำผู้อ่านไปสู่เรื่องราวของเราด้วยการเขียนเริ่มต้นเรื่องให้น่าสนใจ พาพวกเขาผ่านเรื่องราวของคุณด้วยการมุ่งเน้นไปยังประสบการณ์ที่น่าสนใจ ส่วนสำคัญในชีวิตเรา ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผู้อ่านเข้าใจความต่อเนื่องของการพัฒนาความเป็นผู้นำ และ ความคิดริเริ่มของคุณ ปิดท้ายด้วยข้อความที่เน้นย้ำว่า เรื่องราวนี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตเราในขณะนี้อย่างไร และ เราต้องการเป็นอย่างไรในมหาวิทยาลัย หลังจากเรียนจบ และ ต้องมั่นใจว่าเราได้ตอบคำถามครบทุกข้อที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด

9. สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เขียนเกี่ยวกับตัวเองอย่างหลงใหล และ ให้เกิดพลังมากที่สุด จงภูมิใจในชีวิต และ ความสำเร็จของเรา พร้อมโน้มน้าวใจกรรมการให้ได้มากที่สุด

ทั้ง 9 เทคนิคนี้เป็นเพียงเทคนิคเบื้องต้นในการเขียนหนังสือแนะนำตัวเท่านั้น หากน้อง ๆ มีเทคนิคดี ๆ เพิ่มเติม สามารถ Comment เพื่อแนะนำให้เพื่อน ๆ ได้นำเทคนิคดี ๆ ไปปรับใช้ได้ที่ด้านล่าง และถ้าต้องการอ่านบทความเทคนิคการเขียนเรียงความเพิ่มเติมสามารถ คลิกที่นี่

FB Fanpage : @Chula Gradeup Tutor

Line ID : https://line.me/R/ti/p/%40wud8208i

Scroll to top