สอบสัมภาษณ์

6 เทคนิค เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์

มีน้อง ๆ หลายคนกังวลเกี่ยวกับการเตรียมตัว วันนี้พี่เลยอยากมาแชร์เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการ เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ หน่อย เอาจริงๆ ผู้ใหญ่ไม่ได้คาดหวัง เด็กเก่งขั้นเทพ พูดเก่งประดุจดั่งพี่โน๊ตอุดม การสัมภาษณ์เหมือนมาคุยให้รู้จักกัน ได้พูดคุย เห็นภาษากาย ไม่ต้องกังวลไป

โดยส่วนตัวจากลักษณะการรับของปีนี้ พี่ยืนยันได้ทีเดียว ไม่น่าจะมีการตกสัมภาษณ์ด้วย ตอบดีๆ ไม่ตบตีกับกรรมการพี่ว่าผ่านอยู่แล้ว เกริ่นมานาน เริ่มแล้วกัน

เทคนิคเตรียมตัวสำหรับการสอบสัมภาษณ์ เบื้องต้น ดังนี้

1. สัมมาคารวะ ในสังคมไทยการมีสัมมาคารวะถือเป็นเรื่องที่สำคัญอันดัวต้น ๆ เลยก็ว่าได้ น้อง ๆ ควรจะรู้จักวัฒนธรรมไปลา มาไหว้ ยิ้มแย้มทักทาย กับผู้สัมภาษณ์ตั้งแต่แรกพบ สามารถนำไปใช้ได้กับทุก ๆ เหตุการณ์

เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ ติวเตอร์จุฬา

2. หาข้อมูลในคณะ และสาขาที่สนใจไว้บ้าง ว่าทำไมถึงอยากเรียน สนใจวิชาอะไรในคณะนั้นๆ จบไปอยากทำงานประมาณไหน เข้ากับสำนวนที่ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ไม่ใช่ไปแต่ตัวเปล่า ๆ ในวันสัมภาษณ์นะ แต่เอาจริงๆ ถ้ายังไม่รู้จะเรียนสาขาไหนก็ไม่ผิด เราแค่คิดว่าเราอยากเรียนคณะนี้ และมาค้นหาตัวเองเพิ่มเติมอีกทีก็เป็นคำตอบที่ไม่ผิดอะไรนะ

3. การที่น้อง ๆ ไปสอบสัมภาษณ์นั้น ไม่ได้หมายความว่าน้อง ๆ มีหน้าที่ไปตอบคำถามตามที่อาจารย์ผู้สัมภาษณ์ถามเท่านั่น ในความเป็นจริงแล้วน้อง ๆ ก็มีสิทธิ์ที่จะถามอาจารย์กลับบ้างก็ได้ เกี่ยวกับการเรียนในคณะ สาขาที่น่าสนใจในกรณีที่น้อง ๆ ยังไม่รู้ แต่ถามพอประมาณ แต่ถ้าน้อง ๆ ตั้งคำถามดี ถามละเอียดได้ จะยิ่งดูว่าเราใส่ใจ อยากเข้าจริงๆ

เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ ติวเตอร์จุฬา

4. การตอบคำถาม ควรตามความจริง อย่า “ขี้โม้” จนเกินควรนะ อย่าตอบให้ตัวเองดูดีแบบเกินไป ตอบตามจริงไปเลย ตอบแบบที่เป็นตัวเอง ตอบไม่ได้ ก็น้อมรับ และบอกไปเลยว่าถ้ามีโอกาสได้เข้าศึกษาที่นี่ จะตั้งใจหาข้อมูลในส่วนที่ตอบไม่ได้

5. “ภาษากาย” การสบตา พยายามสบตาเขา เทคนิคคือให้มองตากันระหว่างสัมภาษณ์ ไม่ใช่ว่าเอาแต่ก้มหน้าก้มตา เพราะคนที่สัมภาษณ์จะได้รู้สึกว่าเราใส่ใจด้วย มือก็อย่าเอาแต่กุมไว้ ออกท่าทางบ้าง รวมถึงน้ำเสียงด้วยนะ โทนปกติ และอย่าพูดเบาเกิน ส่วนมากตื่นเต้นแล้วพูดเบา แต่อย่าตะโกนใส่หน้าอาจารย์ สำคัญสุด คือให้มันเป็นตัวเรา เพราะการเป็นตัวเราเอง ง่ายที่สุดแล้ว

เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ ติวเตอร์จุฬา

6. ทำให้เค้ารู้สึกว่า “เราอยากเรียนที่นี่มากๆ” นี่คือที่ๆ เราอยากมีโอกาสเข้าไปศึกษา ถ้าได้เข้าไป จะทำให้เต็มที่ที่สุด และคิดว่าเราเลือกไม่ผิด

ส่วนคำถามที่อาจเจอบ่อยๆ มีดังนี้

  • แนะนำตัว : แนะนำให้น่าสนใจ มั่นใจในตัวเอง
  • ทำไมอยากเรียนคณะ/สาขานี้
  • ทำไมถึงอยากเรียนมหาลัย…..(ตามที่เราได้สัมภาษณ์)….. แล้วไม่เลือกจุฬาหรอ : ถ้าเจอแบบนี้ ตอบตามความรู้สึกเลยนะน้อง
  • ติดที่ไหนบ้าง แล้วทำไมไม่เอาที่อื่น
  • ที่บ้านทำงานอะไร : คำถามนี้ไม่ควรตอบแค่ทำอาชีพอะไร ควรเสริมๆ เติมแต่งเพื่อให้เหมือนเป็นการเล่าเรื่องให้ผู้สัมภาษณ์ฟัง เผื่อจะได้มีเรื่องคุยกันเพลิน ๆ จนลืมสัมภาษณ์ (ล้อเล่นนะ)
  • งานอดิเรก ชอบทำอะไร : ตอบให้น่าสนใจ ชอบเพราะอะไร ทำแล้วได้เรียนรู้อะไรจากงานอดิเรกบ้าง

เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ ติวเตอร์จุฬา

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ พี่ ๆ จาก Chula Gradeup Tutor รวบรวมมาเป็นข้อมูลให้ น้อง ๆ เบื้องต้นอาจจะมีคำถามอื่น ๆ อีกนะ เตรียมตัวให้ดี เพราะคำตอบที่เราตอบ หลายครั้งจะถูกนำมาเป็นคำถามต่อ !!

อย่ากังวลเกี่ยวกับการสัมภาษมากเกินไป คิดซะว่าเราไปนั่งคุยกับญาติผู้ใหญ่คนหนึ่งที่เราเคารพ หรือคนที่เรารู้จักจะได้ดูม่ตื่นเต้นมากจนเกินไป สู้ๆ กับการสอบสัมภาษณ์ ด่านสุดท้ายก่อนจะเข้าไปใช้ชีวิตจริงๆ ในรั้วมหาวิทยาลัยกันนะทุกคน ยินดีล่วงหน้าเลย ถ้าต้องการทราบเทคนิคเพิ่มเติม คลิกที่นี่

Scroll to top